ออฟฟิศซินโดรม ทำยังไงให้ห่างไกลจากอาการเมื่อยล้า (office syndrome)
มีหลายท่านที่เข้าใจผิดว่า ออฟฟิศซินโดรม นั้นจะเกิดขึ้นแต่กับเฉพาะ พนักงานประจำ หรือ ชาวออฟฟิศ ที่นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทุกวัน อย่างที่เราเข้าใจ แต่แท้จริงแล้ว ออฟฟิศซินโดรม คือ กลุ่มอาการ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกท่าน ที่มีลักษณะงาน ที่ต้องอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง เป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิด ความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบกระดูก และ กล้ามเนื้อ หรือก่อให้เกิดอาการ ปวด เมื่อยล้า อันเนื่องมาจาก รูปแบบการทำงาน ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ
ออฟฟิศซินโดรมแก้ได้ที่ต้นเหตุ

เมื่อทราบถึงสาเหตุ ของกลุ่มอาการแล้ว วิธีที่ดีที่สุด นั่นก็คือ การลดภาระ ให้แก่กล้ามเนื้อ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทำงาน โดยการพักเบรค เป็นระยะ
- เปลี่ยนอริยาบถ ยืดกล้ามเนื้อ เพื่อผ่อนคลาย
- หมั่นออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อ เพื่อจัดโครงสร้างของร่างกาย
- หลีกเลี่ยง การใส่รองเท้าส้นสูงนานๆ
- หลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเมื่อยล้าได้เช่นกัน
- ระมัดระวังการยกของที่อาจผิดท่า ผิดจังหวะ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
เมื่อใดควรพบแพทย์

มีอาการคงค้าง จากการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เมื่อพักผ่อนนอนหลับ เปลี่ยนท่าทางการทำงาน แต่ยังไม่หาย หรือมีอาการปวดมาก แม้ทำงานเพียงเล็กน้อย พักผ่อนแล้วอาการไม่ทุเลาลง และอาการดังต่อไปนี้ เป็นสัญญาณเตือนสำคัญ ว่าคุณควรพบแพทย์
- ปวดหลังเรื้อรังจากการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละ 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ สะบัก เมื่อย เกร็งอยู่ตลอดเวลา ทำให้กระบังลมขยายได้ไม่เต็มที่ สมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ทำให้ง่วงนอน ศักยภาพในการทำงานไม่เต็มร้อย
- ไมเกรนหรือปวดศีรษะเรื้อรัง ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงแดด ความร้อน และการขาดฮอร์โมนบางชนิด เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน และ
- มือชา เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค การอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็น นิ้วมือพบมากขึ้น เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ การจับเมาส์ในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและ เส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้
วิธีการรักษา
- การรักษาด้วยยา มีทั้งยาทา และ ยาฉีด เพื่อบรรเทาอาการ
- การทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อและปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกายโดยรวม
- การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย
ซึ่งคนไทยหลายคนคิดว่าเมื่อไม่มีอาการแล้ว แปลว่า “หาย” ในความเป็นจริงแล้ว การไม่มีอาการนั้น อาจจะไม่ได้หายจากอาการปวดอย่างถาวร
สุดท้ายแล้ว วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ “หาย” จากอาการปวดอย่างถาวรนั้น คือ การรักษาที่สาเหตุของปัญหา ให้สภาพของกระดูกและข้อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท คืนสู่สภาวะปกติ และดีกว่าปกติ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กลับมาเกิดอาการปวดอีก
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
นพ.กิตติพงษ์ สาริวงษ์
แพทย์ผู้เชียวชาญด้านกระดูกและข้อ
และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
I truly love your blog.. Pleasant colors & theme.
Did you build this site yourself? Please reply back as
I’m hoping to create my very own blog and want to find out where you got this from or what the theme is called.
Thanks!
thank you for your feedback.
sure, We build the website by ourselves.
Pls give us some suggestion to improve it.
I used wordpress “ืnewspaper theme”, you can learn and create by yourself.
lots of the guide to create your own web on google, Try it.