“รู้ทัน ไขมันทรานส์ …..ก่อนสาย ”
จากการประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย อาหารไขมันเทียมที่มีทรานส์แฟต (Transfat) เนื่องจากมีหลักฐานชัดเจนว่าส่งผลต่อความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดทั้งหลายโดยมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วัน เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่ามันคืออะไร ทำไมต้องห้าม แล้วการทานอาหารของเราทุกวันมีส่วนเกี่ยวข้องกับไขมันทรานส์หรือไม่ โอแคร์ได้รวบรวมคำตอบที่หลายคนสงสัย
ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตช่วยในการละลายวิตามินที่มีประโยชน์ต่อกระดูกและร่างกาย (A, D, E) โดยไขมันจะมีองค์ประกอบที่สำคัญคือกรดไขมัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ กรดไขมันอิ่มตัวและกรดไขมันไม่อิ่มตัว
ไขมันทรานส์คืออะไร
Trans fat หรือที่เรียกชื่อเต็มๆว่า Trans fatty acid เป็นไขมันจากพืชที่มนุษย์ผลิตขึ้นผ่านกระบวนการแปรรูปอาหาร เพื่อทดแทนการใช้ไขมันสัตว์ที่มีปริมาณไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันหมู เนื่องจากไขมันอิ่มตัวเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดคอเลสเตอรอล ซึ่งขณะนี้งานวิจัยหลายฉบับ สรุปว่า ** มันเป็นไขมันชนิดร้ายแรงที่สุด ไม่ให้ประโยชน์ใดๆกับร่างกายแต่ยังไปทำลายไขมันดีที่ร่างกายสะสมไว้ใช้งานอีกด้วย หากบริโภคไขมันTrans fat ติดต่อกันเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะภาวะหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ไขมันชนิดนี้พบมากใน มาร์การีน (เนยเทียม) ชอตเทนนิ่ง (เนยขาว) ครีมเทียม น้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำจนเริ่มหนืด และผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของไขมันชนิด Trans fat อาทิเช่น เบเกอรี่ เค้ก คุกกี้ โดนัท แคร็กเกอร์ มันฝรั่ง โดนัท ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม วิปปิ้งครีม เนยขาว และ มาร์การีน
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1339355
7 อันตรายต่อสุขภาพ เมื่อคุณทานอาหารที่มีไขมันทรานส์
-
ส่งผลต่อการเกิดกระบวนการอักเสบหรือบวมภายในร่างกาย
-
ส่งผลให้ฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินและอาจนำไปสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ได้
-
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตีบ
-
ทำให้น้ำหนักเพิ่มและส่งผลต่อการเกิดโรคอ้วน
-
ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ในเลือดสูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง
-
อาจจะส่งผลให้แบคทีเรียในลำไส้อยู่ในระดับที่ไม่สมดุล ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้
-
เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งทุกประเภท เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เพิ่มมากขึ้น
6 วิธีหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์
1 . อ่านฉลากให้ดี
ตรวจสอบรายการส่วนประกอบของอาหารและเครื่องดื่มว่ามีส่วนผสมของ
-
partially hydrogenated vegetable oil
-
partially hydrogenated vegetable shortening
-
Shortening
-
Hydrogenated margarine
ในฉลากหรือไม่ ถ้ามีนั่นแปลว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ มีไขมันทรานส์แฝงตัวอยู่แน่นอน
-
อย่าไว้ใจ ไขมันทรานส์ 0%
ระวังฉลากที่เขียนว่า ไขมันทรานส์ 0% เพราะจริง ๆ อาจมีไขมันทรานส์ปนอยู่ แต่ตามกฎหมายเขาให้ปัดตัวเลขที่ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค เป็น 0% ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ขนม อาหาร หรือเครื่องดื่มนั้น ๆ ไม่มีไขมันทรานส์
-
เลือกปรุงอาหารด้วยน้ำมันในรูปของเหลว
เช่น น้ำมันคาโนลาหรือน้ำมันมะกอก แทนไขมันที่เป็นก้อนแข็ง (solid fats) อย่างเนยขาว บัตเตอร์ หรือมันหมู ส่วนขนมก็เปลี่ยนจากใช้มาร์การีนชนิดแข็ง (hard margarines) มาเป็นมาร์การีนชนิดไม่แข็ง (soft margarines) หรือมาร์การีนที่ระบุว่าปราศจากไขมันทรานส์แทน
-
จำกัดการรับประทานเบเกอรี่–ขนมอบ
โดยเฉพาะโดนัท คุกกี้ มัฟฟิน พาย และเค้ก เป็นต้น หรือหากตัดใจยากเพราะเราเป็นสาย (กิน) หวาน ลองเลือกซื้อเบเกอรี่ หรือขนมอบที่ใช้วัตถุดิบปราศจากไขมันทรานส์ อย่างขนมโฮมเมดที่ใช้เนยเหลว หรือขนมที่ระบุชัดเจนว่าไม่ได้ใช้มาร์การีนหรือส่วนผสมที่มีไขมันทรานส์แน่นอน 100%
-
เลี่ยงเครื่องดื่มสุ่มเสี่ยง
เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของครีมเทียมที่อาจจะใช้วัตถุดิบที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ ในนมข้นหวาน นมข้นจืด เช่น กาแฟเย็น นมเย็น ชาเย็น ชานมไข่มุก รวมไปถึงเครื่องดื่มสำเร็จรูปในรูปแบบทรีอินวัน หรือแบบซองพร้อมชงบางยี่ห้อ ให้เลือกที่ไม่มีส่วนผสมของ Partially hydrogenated oil หรือหากเลือกซื้อเครื่องดื่มจากคาเฟ่ ร้านกาแฟทั่วไป ก็ควรเลือกซื้อร้านที่ใช้นมสดชง หรือเลี่ยงไม่ใส่ครีมเทียมและนมข้นหวานก็จะปลอดภัยกว่า
-
ลดการรับประทานอาหารทอดสำเร็จรูป
โดยเฉพาะอาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งหลาย ไม่ว่าจะมันฝรั่งทอด ไก่ทอด นักเก็ต เบอร์เกอร์ โดนัท ปาท่องโก๋ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก:
-
นิตยสารฉลาดซื้อ
-
Kapook Health
-
Girlfriend Club
สุดท้ายนี้….มาเช็คสุขภาพของคุณกันว่าระดับไขมันที่มีอยู่ในร่างกายยังอยู่ในระดับปกติหรือไม่ กับแพ็กเกจตรวจไขมันในเลือดจากโอแคร์
———————————————
Tel: 099-131-9919
Website : www.ocare.co.th
Facebook.com/Ocarehealth
Instagram.com/Ocarehealth
Line ID : @ocarehealth
“คลิกโอแคร์ ดูแลถึงบ้าน”
Ocare : โอแคร์ คือ ผู้ให้บริการตรวจสุขภาพถึงบ้าน พร้อมวิเคราะห์ผลตรวจสุขภาพโดยแพทย์ รับผลตรวจทันทีภายใน 24 ชั่วโมง
#โอแคร์ #Ocare #ตรวจสุขภาพ #ตรวจสุขภาพถึงบ้าน #โปรแกรมตรวจสุขภาพ #ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ #ตรวจสุขภาพโดยพยาบาล #ผลสุขภาพออนไลน์